- หน้าแรก
- ท่องเที่ยวในประเทศ
- สะพานรัษฎาภิเศก (สะพานขาว) จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
สะพานรัษฎาภิเศก (สะพานขาว) จังหวัดลำปาง ประเทศไทย

- อ่าน (5,598)
- ByWebmaster
- 15:21:25 | 26 มี.ค. 2564
สะพานรัษฎาภิเศก (สะพานขาว) จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
Ratsadaphisek Bridge, Lampang Province, Thailand
สะพานรัษฎาภิเศก (Ratsadaphisek Bridge) หรือ “สะพานขาว” สะพานทรงสวยคลาสสิกแลนด์มาร์กของเมืองรถม้าที่กลายเป็นสัญลักษณ์คู่เมืองที่ชาวลำปางคุ้นตา โดดเด่นด้วยเส้นโค้งทรงคันธนูรวม 4 โค้งทอดข้ามผ่านแม่น้ำวัง เป็นเส้นทางสัญจรผ่านไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำในเขตใจกลางเมืองลำปาง
ประวัติ
สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวังที่สร้างมานานกว่า 100 ปี ชื่อของสะพานแห่งนี้ได้มาจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตย์ ผู้ครองนครเป็นผู้ตั้งจากชื่อพิธีเฉลิมฉลองรัษฎาภิเษก สมัยรัชกาลที่ 5 สะพานรัษฎาเป็นสะพานที่รอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาได้ด้วยการทาสีพรางตา และด้วยการอ้างของนางลูซี่ สตาร์ลิ่ง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวิชชานารี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกองทัพสัมพันธมิตรในขณะนั้น ว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์
ทว่าแม้จะรอดพ้นจากสงครามมาได้ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปสะพานไม้เสริมเหล็กเดิมก็เกิดการชำรุดผุพัง รัชกาลที่ 8 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อรักษาสภาพคงทนถาวร จึงมีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 สะพานรัษฎาภิเศกมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกันเช่น “ขัวสี่โก๊ง”(สะพานสี่โค้ง) “ขัวหลวง” (สะพานใหญ่) และ “ขัวขาว” (สะพานขาว) นับเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนกว่าสะพานรุ่นเดียวกันที่ไม่เหลือให้เห็นแล้วในปัจจุบัน บริเวณหัวสะพานมีองค์ประกอบต่างๆ ที่สื่อความหมายสำคัญดังนี้
เสาสี่ต้น ที่ตั้งอยู่หัวสะพานฝั่งละสองต้น หมายถึงความมั่นคงแข็งแรง
ครุฑสีแดง ด้านหน้าของเสาทุกต้น เป็นตราสัญลักษณ์ของแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 6
พวงมาลัย ยอดเสาทั้งสี่ด้านของเสา หมายถึง การรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ไก่หลวง หรือ ไก่ขาว ตรงกลางเสา เป็นสัญลักษณ์ประจำนครลำปาง
ปัจจุบันสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำร่วมรุ่นบนเส้นทางรถไฟสายเหนือล้วนผุพังลงหมด แต่สะพานรัษฎาภิเศกยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ เป็นสะพานที่สะท้อนถึงอารยธรรมสมัยขนส่งรถไฟหลวงและสินค้าก่อสร้างปูนซีเมนต์ไทยตามพระราชปรารภของรัชกาลที่ 6 ที่ยังคงอยู่ เรียกได้ว่านอกจากรถม้าและถ้วยตราไก่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางแล้ว สะพานรัษฎาก็ถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของลำปางที่ใครก็จะต้องไม่พลาดมาถ่ายรูป
สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวังอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี
ชื่อของสะพานแห่งนี้ได้มาจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตย์ซึ่งเป็นผู้ครองนคร
การเดินทางไปจังหวัดลำปาง
- เครื่องบิน (Flight) การเดินทางโดยเครื่องบินจากสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ไปสนามบินจังหวัดลำปางใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที
- รถยนต์ (Car/ Bus) การเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดลำปาง มีระยะทาง 600 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง 30 นาที
- รถไฟ (Train) การเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดลำปาง ใช้เวลาเร็วสุดประมาณ 8 ชั่วโมง ทั้งนี้อาจใช้เวลานานกว่านี้ขึ้นอยู่กับประเภทของรถไฟ
การเดินทางไปสะพานรัษฎาภิเศก
สะพานรัษฎาภิเศก ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง โดยอยู่ห่างจากสถานีขนส่งจังหวัดลำปาง 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 7 นาที
เวลาทำการเปิด – ปิด
เปิดทุกวัน 24 ชั่วโมง
อัตราค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยวสะพานรัษฎาภิเศก
ชมสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบที่มีความหมายสำคัญต่างๆ ของสะพานสีขาวเก่าแก่ประจำเมืองลำปาง และหากมาเที่ยวตรงกับวันเสาร์ อาทิตย์ไม่ควรพลาดที่จะเดินเที่ยวถนนคนเดินที่ตลาดกองต้าซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน
กาดกองต้าที่อยู่ใกล้ๆ กัน
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว
สามารถเที่ยวได้ตลอดปี
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวชม สะพานรัษฎาภิเศก สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
สะพานรัษฎาภิเศก (สะพานขาว) จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
(Ratsadaphisek Bridge, Lampang Province, Thailand)
ระดับความนิยม :
อัตราค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม
เวลาทำการเปิด – ปิด : เปิดทุกวัน 24 ชั่วโมง
ตั้งอยู่ที่ : ถนนรัษฎา ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
โทรศัพท์ : -
เว็บไซต์ : -
ข้อมูลอื่นๆ ที่ควรรู้ : พยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com
ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง https://lampang.mots.go.th
ศูนย์ข้อมูลการเดินทางจังหวัดลำปาง http://www.lampang.go.th/travel/goto.htm
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ

๑๒ วัดสวยในภาคเหนือ พุทธศิลป์แห่งอาณาจักรล้านนา
ภาคเหนือ เป็นหนึ่งในภูมิภาคของประเทศไทย ที่มีวิถีชีวิตของชาวพื้นเมือง และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียบง่าย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ และมีชื่อเสียงอยู่มากมาย รวมไปถึงมีผลงานพุทธศิลป์แบบล้านนาสุดแสนจะวิจิตร ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบของสถาปัตยกรรมและประติมากรรมในวัดวาอารามต่าง ๆ เป็นเอกลักษณ์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวแวะมากราบสักการะ พร้อมชื่นชมผลงานศิลปะล้านนาที่อ่อนช้อย และทรงคุณค่า วันนี้ Palanla จึงจะขอชวนออกเดินทางไปเที่ยวชม และรับสิริมงคลกับ 12 วัดสวยในภาคเหนือกันค่ะ
อ่านต่อ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ (Doi Inthanon National Park) สถานที่ท่องเที่ยวอันมีชื่อเสียงประจำจังหวัดเชียงใหม่ อุทยานที่สวยงาม และแวดล้อมไปด้วยทิวเขาสูงสลับซับซ้อน น้ำตก ถ้ำ ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนในทุกๆปี
อ่านต่อ
อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า (Phu Chi Fa National Park) ผืนป่าบนยอดดอยที่มีจุดชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก ที่มีความสวยงามติดอันดับต้นๆ ของเมืองไทย
อ่านต่อ
วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ประเทศไทย
วัดจามเทวี (Wat Chamdhevi) วัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำพูน ภายในวัดมีเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยด้วย
อ่านต่อ
กู่ช้าง กู่ม้า จังหวัดลำพูน ประเทศไทย
กู่ช้าง กู่ม้า (Khu Chang – Khu Ma) เป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดลำพูน โดยเชื่อว่ากู่ช้าง เป็นสุสานช้างศึกคู่บารมีของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย ส่วนกู่ม้า เป็นสุสานม้าทรงของพระโอรสในพระนางจามเทวี
อ่านต่อ
พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชราชานุสรณ์ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชราชานุสรณ์ (King Naresuan Stupa) เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นในรูปแบบของสถูปเจดีย์พร้อมกับพระบรมรูปเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และรำลึกเหตุการณ์ครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยเสด็จมาประทับแรมที่เมืองงายแห่งนี้ก่อนกรีฑาทัพต่อไปยังเมืองอังวะของพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2147 โดยสร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นเส้นทางเดินทัพเมื่อในอดีต นักท่องเที่ยวและชาวเมืองเชียงใหม่นิยมมาสักการะและขอพร นอกจากนี้ ภายในบริเวณยังมีส่วนนิทรรศการค่ายหลวงจำลองที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งกรมศิลปากรจัดสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เที่ยวชมและเรียนรู้ประวัติศาสตร์อีกด้วย
อ่านต่อ
น้ำตกแม่สา จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
น้ำตกแม่สา (Mae Sa Waterfall) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติยอดนิยมในอำเภอแม่ริม น้ำตกแห่งนี้เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 10 ชั้น สามารถเดินขึ้นไปชมความงดงามในแต่ละชั้นได้ตามทางเดินที่ทางอุทยานจัดทำไว้ให้ และหากใครสนใจเล่นน้ำคลายร้อนก็สามารถลงเล่นน้ำได้เช่นกัน โดยชั้นที่เป็นที่นิยมคือชั้นที่ 3-6 เพราะค่อนข้างปลอดภัยและสามารถเล่นได้ทั้งครอบครัว นอกจากนี้ภายในบริเวณยังมีร้านค้า ร้านอาหาร และห้องน้ำให้บริการอีกด้วย
อ่านต่อ
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง จังหวัดพะเยา ประเทศไทย
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง (Pho Khun Ngam Muang Monument) เป็นอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้ากว๊านพะเยา สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งเมืองภูกามยาวหรือพะเยาในปัจจุบัน โดยในสมัยที่พ่อขุนงำเมืองปกครองอาณาจักรพะเยานั้นทำให้พะเยาเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นอาณาจักรใหญ่ 1 ใน 3 อาณาจักรของชนเผ่าไทยในแถบนี้ ได้แก่ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรพะเยา นั่นเอง เมื่อพะเยาได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดที่ 72 ในปีพ.ศ.2520 ชาวพะเยาจึงร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองขึ้น บริเวณสวนสาธารณะริมกว๊านพะเยา และกลายเป็นศูนย์รวมใจของชาวพะเยานับแต่นั้นเป็นต้นมา
อ่านต่อ
วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา ประเทศไทย
วัดศรีโคมคำ (Wat Si Khom Kham) เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองพะเยามาอย่างช้านาน ไฮไลท์ของวัดแห่งนี้คือองค์พระพุทธรูปที่มีนามว่าพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา มีขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร พระพุทธรูปพระเจ้าตนหลวงนอกจากจะเป็นเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยาแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอาณาจักรล้านนาอีกด้วย โดยทุกวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเดือนแปดเป็งขึ้นที่วัดศรีโคมคำแห่งนี้ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีผลงานจิตรกรรมฝาผนังอันวิจิตรงดงามจากฝีมือของศิลปินแห่งชาติอย่างท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ให้เที่ยวชมอีกด้วย
อ่านต่อ
วัดพระธาตุจอมทอง จังหวัดพะเยา ประเทศไทย
วัดพระธาตุจอมทอง (Wat Phra That Chom Thong) เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองพะเยาที่ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง และเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุจอมทองซึ่งเป็นเจดีย์สีทองอร่ามองค์ใหญ่ที่สร้างด้วยศิลปะล้านนาอย่างงดงาม ภายในบรรจุเส้นพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ที่นี่จึงเป็นปูชนียสถานที่ชาวพะเยาเคารพศรัทธากันมาอย่างช้านาน นอกจากนี้ จากบริเวณด้านบนดอยยังเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สามารถมองเห็นป่าไม้และกว๊านพะเยาได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
อ่านต่อ