- หน้าแรก
- ท่องเที่ยวในประเทศ
- วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
- อ่าน (5,966)
- ByWebmaster
- 16:54:45 | 28 ต.ค. 2563
วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya Province, Thailand
วัดภูเขาทอง (Wat Phu Khao Thong) ที่มีเจดีย์สูงถึงเด่นและมีความเก่าแก่แห่งนี้ ในอดีตยังเคยเป็นยุทธศาสตร์สงครามระหว่างไทยกับพม่าที่ทำให้กรุงแตกทั้ง 2 ครั้งด้วยกัน
ประวัติ
วัดภูเขาทองตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้กลางทุ่งภูเขาทอง พื้นที่วัดตั้งอยู่บนโคกซึ่งพื้นที่โดยรอบมีน้ำท่วมถึง วัดแห่งนี้ถือเป็นพุทธสถานที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นยุทธศาสตร์สงครามระหว่างไทยกับพม่าที่ทำให้กรุงแตกทั้ง 2 ครั้ง วัดที่มีเจดีย์สูงถึง 90 เมตรแห่งนี้ได้ชื่อตามมหาเจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งตามพระราชพงศาวดารอยุธยาได้กล่าวไว้ว่า วัดภูเขาทองได้รับการสถาปนาขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น รัชสมัยพระราเมศวร
โดยในสงครามที่พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่ารบชนะอยุธยาเมื่อครั้งเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์แบบมอญผสมพม่าก่อทับองค์เจดีย์เดิมของวัดแห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือทัพไทย แต่สันนิษฐานว่าคงสร้างได้แต่ส่วนฐานทักษิณส่วนล่างแล้วยกทัพกลับ จากนั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่า จึงมีสถาปัตยกรรมหลายแบบผสมผสานกันอยู่ แต่สันนิษฐานว่าเจดีย์ภูเขาทองที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ได้รับการบูรณะให้สูงใหญ่ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาถึงสมัยพระเพทราชา ระหว่าง พ.ศ. 2112-2246
และต่อมาภายหลังก็ได้รับการบูรณะใหญ่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งเป็นช่วงอยุธยาตอนปลาย โดยปฏิสังขรณ์เป็นฐานทักษิณ 4 ชั้น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดทั้ง 4 ด้านขึ้นไปจนถึงฐานทักษิณชั้นบนสุด ซึ่งมีฐานสี่เหลี่ยมขององค์เจดีย์ที่มีอุโมงค์รูปโค้งเข้าไปข้างใน ประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ เหนือขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยมองค์ระฆังและบัลลังก์ และเหนือขึ้นไปอีกคือปล้องไฉน ปลียอด และลูกแก้ว ซึ่งพังทลายในสมัยต้นรัตนโกสินทร์แต่ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ. 2499 โดยได้ทำลูกแก้วทองคำหนัก 2,500 กรัม เป็นสัญลักษณ์การบูรณะในวาระครบ 25 พุทธศตวรรษช่วงสงครามก่อนกรุงแตกครั้งแรก มีการขุดคลองมหานาคเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญระหว่างพระนครด้านแม่น้ำลพบุรีกับวัดภูเขาทอง ส่วนเขตพุทธาวาสเดิมยังหลงเหลือแนวกำแพงแก้วล้อมรอบ 688 เมตร
ภายในเขตพุทธาวาสประกอบไปด้วยวิหารขนาดเล็ก อุโบสถใหญ่ด้านหน้ามีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ ทว่าหลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดภูเขาทองกลายเป็นวัดร้าง แต่ก็ยังมีผู้คนจากทุกแห่งหนเดินทางมาสักการะพระมหาเจดีย์อยู่เช่นเดิม ดังปรากฏในนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนมาถึง พ.ศ. 2500 จึงได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้อีกครั้ง
เจดีย์สีขาวอันโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของวัดภูเขาทอง
พระอุโบสถ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 40 เมตร มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้าและด้านหลัง มีประตูเข้าทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตกด้านละ 1 ประตู
เจดีย์วัดภูเขาทองมองจากระยะไกล
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากกรุงเทพมหานคร
- รถยนต์ (Car/ Bus) การเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระยะทาง 80 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที
- รถไฟ (Train) การเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที
การเดินทางไปวัดภูเขาทอง
วัดภูเขาทองอยู่ห่างจากเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กม. โดยตั้งอยู่ริมถนนสายอยุธยา – อ่างทอง ใกล้กับทุ่งภูเขาทองและพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รถสาธารณะที่ผ่านคือรถโดยสารสาย 101 (อยุธยา-ป่าโมก-อ่างทอง) และสาย 1002 (อยุธยา-บางปะหัน-มหาราช)
เวลาทำการเปิด – ปิด
วัดภูเขาทองเปิดให้เข้านมัสการทุกวัน เวลา 08.30 - 17.00 น.
พระพุทธรูปองค์สำคัญต่างๆ ภายในวัด
อัตราค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
บรรยากาศรอบๆ วัดภูเขาทอง
สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยววัดภูเขาทอง
สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยววัดภูเขาทองคือชมความงดงามของเจดีย์สูงเก่าแก่ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมหลายแบบผสมผสานกันทั้งแบบไทย มอญ และพม่า
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว
สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
เจดีย์วัดภูเขาทองมีความสูงถึง 90 เมตร
เจดีย์วัดภูเขาทองมองจากอีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวชม วัดภูเขาทอง สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
(Wat Phu Khao Thong, Ayutthaya Province, Thailand)
ระดับความนิยม :
อัตราค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม
เวลาเปิด – ปิด : ทุกวัน เวลา 9.00 – 14.00 น.
ตั้งอยู่ที่ : 153 หมู่ 2 ถนนทางหลวงหมายเลข 309 กม. 26 พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ : -
เว็บไซต์ : -
ข้อมูลอื่นๆที่ควรรู้ : พยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com
เว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา http://ww2.ayutthaya.go.th/frontpage
เฟซบุ๊คการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://www.facebook.com/TatAyutthaya/
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
น้ำตกไทรโยคใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
น้ำตกไทรโยคใหญ่ (Sai Yok Yai Waterfall) เปรียบเสมือนอัญมณีแห่งเมืองกาญจนบุรี ด้วยความงามของม่านน้ำอันยิ่งใหญ่ที่ไหลรินลงมาจากหน้าผาสูงและกลายเป็นสายน้ำที่ทอดยาว รายล้อมไปด้วยป่าไม้ร่มรื่น ที่นี่จึงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี
อ่านต่อต้นจามจุรียักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
ต้นจามจุรียักษ์ (Giant Monkey Pod Tree) อายุกว่า 100 ปี ที่ยืนตระหง่าน แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาแก่ผู้คนที่มาพักผ่อนหย่อนใจ คืออีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองกาญจนบุรีในปัจจุบัน
อ่านต่อคู่มือการดำเนินการตามกระบวนการเคลมประกันรถยนต์ฉบับสมบูรณ์
การมีส่วนร่วมในอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือประสบความเสียหายต่อยานพาหนะของคุณอาจเป็นประสบการณ์ที่ตึงเครียดและท่วมท้น อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์สามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและแก้ไขปัญหาได้ราบรื่นยิ่งขึ้น
อ่านต่อสวนสาธารณะเทศบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
สวนสาธารณะเทศบาลโพธาราม (Muang Photharam Municipal Public Park) เป็นสวนสาธารณะที่ตั้งอยู่ริมเขื่อนแม่น้ำแม่กลองในอำเภอโพธาราม ภายในสวนมีบรรยากาศร่มรื่นจากต้นไม้ใหญ่ และยังมีส่วนของจุดชมวิว สนามหญ้า ทางวิ่งออกกำลังกาย ลานกีฬา เครื่องออกกำลังกาย และสนามเด็กเล่น สวนสาธาณะแห่งนี้เหมาะกับคนทุกวัยที่ต้องการมาเดินเล่น พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และชมวิวแม่น้ำแม่กลองที่เป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดราชบุรี และที่นี่ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานกิจกรรมและงานประเพณีต่างๆ ของเมืองโพธารามอีกด้วย
อ่านต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี (Ratchaburi National Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์จากการใช้ศาลากลางหลังเก่าของจังหวัดราชบุรีมาก่อตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อาคารแห่งนี้เป็นอาคารเก่าแก่ที่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามและอยู่คู่กับจังหวัดราชบุรีมาอย่างนาวนาน และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติอีกด้วย ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรีมีนิทรรศการท้องถิ่นที่น่าสนใจของจังหวัดราชบุรีให้เที่ยวชม โดยจัดแสดงเรื่องราวทางสภาพภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยา ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ชนเผ่าชาติพันธุ์วิทยา มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม และบุคคลสำคัญ ไปจนถึงคลังโบราณวัตถุที่หาชมได้ยากตั้งแต่เครื่องปั้นดินเผาไปจนถึงพระพุทธรูปในยุคต่างๆ
อ่านต่อน้ำตกเก้าชั้น จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
น้ำตกเก้าชั้น (Kaew Chan Waterfalls) เป็นน้ำตกกลางหุบเขาที่มีความสูง 9 ชั้น โดยแต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกันไป ชั้นที่ได้ชื่อว่าสวยงามที่สุดคือบริเวณชั้นที่ 6 น้ำตกเก้าชั้นสามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เพราะมีน้ำไหลทุกฤดูกาล โดยจะมีน้ำมากที่สุดและสวยที่สุดในช่วงฤดูฝน เพราะจะมองเห็นสายน้ำตกสีขาวขนาดใหญ่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงท่ามกลางป่าไม้อันเขียวขจีและเสียงของน้ำตก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งของอำเภอสวนผึ้ง
อ่านต่อตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก (Lao Tuk Luck Floating Market) เป็นตลาดน้ำแห่งแรกของจังหวัดราชบุรีที่ก่อตั้งขึ้นมาก่อนตลาดน้ำดำเนินสะดวก มีลักษณะเป็นตลาดน้ำขนาดย่อมที่ตั้งอยู่บนเรือนไม้ริมน้ำที่ชุมชนชาวไทย-จีนอาศัยอยู่ ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลักมีบรรยากาศเรียบง่ายและคลาสสิก แต่มีความพลุกพล่านน้อยกว่าตลาดน้ำดำเนินสะดวก การเดินทางก็แสนง่าย แค่เพียงแค่ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำจากฝั่งตลาดน้ำดำเนินสะดวกมายังฝั่งตรงข้าม ก็จะได้พบกับเรือนไม้โบราณของชุมชนชาวจีนและลำคลองที่ตัดผ่าน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอาหารทานง่ายอร่อยๆ ให้เลือกมากมาย และมีมุมถ่ายรูปสวยๆ ให้เก็บความประทับใจ นอกจากนี้ในวันหยุดจะมีเสียงดนตรียุค 80 คลอเคล้าสร้างความเพลิดเพลินในการเดินตลาดอีกด้วย
อ่านต่อตลาดน้ำอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
ตลาดน้ำอโยธยา (Ayothaya Floating Market) ตลาดน้ำที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองเก่าแห่งนี้
อ่านต่อวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana) อนุสรณ์สถานแห่งการแย่งชิงราชบัลลังค์ เป็นอีกหนึ่งในวัดที่ใหญ่ และเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา เมื่อปี พ.ศ. 1967
อ่านต่อวัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
วัดมเหยงคณ์ (Wat Mahaeyong) อดีตพระอารามหลวง และกลายเป็นวัดร้างไปภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2310 ปัจจุบันวัดแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานปฏิบัติธรรม ใจกลางโบราณสถานที่เก่าแก่ของอยุธยาอีกด้วย
อ่านต่อ