- หน้าแรก
- ท่องเที่ยวในประเทศ
- วัดฉลอง (วัดไชยธาราราม) จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
วัดฉลอง (วัดไชยธาราราม) จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย

- อ่าน (6,714)
- ByWebmaster
- 16:49:35 | 31 พ.ค. 2561
วัดฉลอง (วัดไชยธาราราม) จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
Chaithararam Temple, Phuket Province, Thailand
"วัดฉลอง" หรือ "วัดไชยธาราราม" เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดภูเก็ตมาช้านาน หากใครมาเที่ยวที่ภูเก็ตก็จะต้องแวะไปกราบไหว้หลวงพ่อแช่มเพื่อความเป็นสิริมงคล และเยี่ยมชมวัดที่ได้ชื่อว่ามีความสวยงามที่สุดในเมืองภูเก็ต
ประวัติ
วัดฉลองตั้งอยู่ที่ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองภูเก็ต ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่มีชื่อปรากฏในหลักฐานบันทึกรัชกาลที่ 3 และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดไชยธาราราม วัดฉลองเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อของ "หลวงพ่อแช่ม" หรือ "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุณี" สมณะศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เมื่อย่างก้าวเข้าไปในอาณาบริเวณของวัดฉลอง ภาพที่เราจะได้เห็นคือแรงศรัทธาจากผู้คนมากมาย ทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่หลั่งไหลมากราบไหว้ สักการะอยู่ไม่ขาดสาย ซึ่งเมื่อเข้าสู่ถึงเขตวัด สิ่งที่จะได้ยินอยู่เป็นระยะๆ คือเสียงจุดประทัดแก้บน
ประตูวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง)
ความงดงาม และความร่มรื่นภายในบริเวณวัด
เล่ากันว่า ในขณะที่หลวงพ่อแช่มยังมีชีวิตอยู่ท่านได้เป็นที่พึ่งแก่ชาวบ้านในการรักษาโรค เนื่องจากท่านเป็นพระที่มีศาสตร์วิชาในด้านการปรุงยาสมุนไพร และรักษาโรค เข้าเฝือกผู้ป่วยกระดูกหัก และเมื่อครั้งที่ต้องต่อสู้กับกลุ่มอั้งยี่ (จีนที่ก่อกบฏ) หลวงพ่อแช่มก็ยังได้มอบผ้าประเจียดสีขาวให้ชาวบ้านเอาไว้โพกหัวเพื่อเป็นขวัญและกำลัง ใจในการต่อสู้จนชนะในที่สุด ท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนมากถึงขนาดที่มีคนรอปิดทองตามแขนและขาของท่านราวกับปิดทองพระพุทธรูป แม้ว่าหลวงพ่อแช่มจะมรณภาพเป็นร้อยปีมาแล้ว แต่เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์และเมตตาธรรมที่สูงส่งของท่านก็ยังเป็นที่เล่าขานและเลื่อมใสศรัทธาของชาวเมืองภูเก็ตสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ความวิจิตร งดงามของพระอุโบสถวัดฉลอง
บรรยากาศรอบๆ วัด
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความสนใจในองค์จำลองของพระเถระทั้งสาม
การเดินทางไปจังหวัดภูเก็ตจากกรุงเทพฯ
- รถยนต์ (Car) การเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปยังภูเก็ตมีระยะทาง 841 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง 31 นาที
- เครื่องบิน (Flight) การเดินทางโดยเครื่องบินจากสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิไปยังสนามบินภูเก็ตใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที
การเดินทางไปวัดฉลอง
- รถยนต์ส่วนตัว วัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ต ใช้ถนนกระบี่ ไปทางถนนวิชิตสงคราม มุ่งไปตำบลตลาดเหนือ เดินทางต่อไปบนถนนวิชิตสงคราม มุ่งไปตำบลวิชิต จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข 4022 เดินทางต่อไปบนถนนหมายเลข 4022 มุ่งไปตำบลฉลองประมาณ 6.1 กม. เดินทางต่อไปบนซอยเจ้าฟ้า 14 เพื่อไปยังวัดฉลอง
- รถสองแถว จากตัวเมืองเก่าภูเก็ต บริเวณตลาดสดใกล้ๆ กับวงเวียนน้ำพุจะมีทั้งรถสองแถวไม้หรือรถโพท่อง และรถบัสคันใหญ่ให้บริการที่นักท่องเที่ยวสามารถนั่งไปยังวัดฉลองได้ (สายภูเก็ต – อ่าวฉลอง)
เวลาทำการเปิด – ปิด
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปสักการะและเยี่ยมชมวัดฉลองได้ทุกวัน ระหว่างเวลาประมาณ 07.00 - 15.00 น.
อัตราค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกำลังถ่ายภาพความงดงามของสถาปัตยกรรมไทย
สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยวชมวัดฉลอง
พระวิหาร ส่วนภายในพระวิหารจะเป็นที่ประดิษฐานองค์จำลองของ หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม พระเกจิซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเมืองภูเก็ต รวมถึงประชาชนประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียด้วย
พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมีประกาศ จุดน่าสนใจของวัดฉลองอยู่ตรง พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมีประกาศ เป็นเจดีย์ที่มีความประณีต วิจิตร งดงาม โดยด้านบนสุดของของพระมหาธาตุเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า อายุกว่า 2,200 ปีที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปสักการะได้ บริเวณด้านข้างผนังเป็นงานจิตรกรรมภาพวาดพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตอนประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน บริเวณพื้นที่รอบๆ มีพระพุทธรูปปางต่างๆ อันงดงาม ด้านบนสุดของพระมหาธาตุเจดีย์จะสามารถมองเห็นวิวมุมสูงของเมืองภูเก็ตได้อย่างงาม
ความงดงามของพระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมีประกาศ
กุฏิจำลองพ่อท่านสมเด็จเจ้า เสร็จจากสักการะพระบรมสารีริกธาตุ แนะนำให้ไปแวะชมกุฏิจำลองพ่อท่านสมเด็จเจ้า (หลวงพ่อวัดฉลอง) ซึ่งภายในจัดแสดง หุ่นขี้ผึ้งจำลอง ของหลวงพ่อวัดฉลอง ทั้งสามท่าน (หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม) นอกจากนี้ ทางวัดยังได้นำเครื่องเรือนและเครื่องใช้โบราณต่างๆ มาจัดแสดงด้วย
ทองที่ปิดอยู่บนรูปหล่อของหลวงพ่อทั้งสามบ่งบอกถึงศรัทธาอันแรงกล้าของผู้คนจากทั่วสารทิศ
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปนมัสการและเยี่ยมชมวัดฉลองได้ตลอดทั้งปี
หอระฆังวัดฉลอง
ข้อมูลอื่นๆ ที่ควรรู้
แม้การไปเที่ยวชมและสักการะพระที่วัดฉลองนั้นจะไม่ได้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดอะไร แต่ก็มีข้อแนะนำและสิ่งที่พึงปฏิบัติจากทางวัดสำหรับนักท่องเที่ยว ดังนี้
- ไม่อนุญาตให้สวมใส่รองเท้าเข้าภายในบริเวณที่กำหนด
- ผู้หญิงจะต้องมีผ้าคลุมไหล่และสวมใส่กางเกงหรือกระโปรงที่ยาวลงไปถึงหัวเข่า
- ไม่พูดจาเสียงดังภายในวัด ไม่สัมผัสรูปปั้นหรือพระพุทธรูปต่างๆ ที่อยู่ในวัด
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวชม วัดฉลอง สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
วัดฉลอง(วัดไชยธาราราม) จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
(Chaithararam Temple, Phuket Province, Thailand)
ระดับความนิยม :
อัตราค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา 07.00 -15.00 น.
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
โทรศัพท์ : ททท. ภูเก็ต โทร (+66)076211036
เว็บไซต์ : วัดฉลอง - วัดไชยธาราราม http://wat-chalong-phuket.com/th_index.php
ข้อมูลอื่นๆที่ควรรู้ : เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org
เว็บไซต์จังหวัดภูเก็ต http://www.phuket.go.th
เฟซบุ๊กสำนักงานการกีฬาและท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต https://www.facebook.com/mostphuket
เว็บไซต์ตรวจสอบพยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน กลุ่มหมู่เกาะที่ขึ้นชื่อเรื่องน้ำใส ทรายสวยละเอียด และมีสัญลักษณ์ท้องทะเลอย่างหินเรือใบ มีชื่อเสียงโด่งดังกระทั่งได้รับการยกย่องจากนิตยสารสกินไดวิ่งของอเมริกาว่า เป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ ติดอันดับความงามเป็น 1 ใน 10 ของโลก อีกหนึ่งจุดหมายปลายทางในฝันของผู้ที่ชื่นชอบความงามแห่งท้องทะเล
อ่านต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (Mu Ko Surin National Park) หมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน และอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง
อ่านต่อ
ปัตตานี สกายวอล์ค จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย
ปัตตานี สกายวอล์ค (Pattani Sky Walk) เส้นทางเดินลอยฟ้าเหนือป่าชายเลนความสูงประมาณตึก 5 ชั้น ที่ให้ทั้งประสบการณ์สุดตื่นเต้นและวิวหลักล้าน แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดปัตตานี แหล่งท่องเที่ยวเชิงผจญภัยแห่งแรกและแห่งใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
อ่านต่อ
17 สถานที่เที่ยวยอดนิยมในพังงา ประเทศไทย
พังงา จังหวัดเล็กๆ ทางภาคใต้ของประเทศไทยที่เปี่ยมไปด้วยความสวยงามและเสน่ห์แห่งทะเลอันดามันซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอย่างหมู่เกาะสิมิลัน ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่งมากที่ยังรอคอยให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปค้นหา ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์บนผืนแผ่นดินและโลกแห่งท้องทะเลสีครามที่น่าหลงใหล รวมถึงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแห่งนี้... ไปติดตาม 17 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในพังงาที่ Palanla อยากชวนให้ไปเยือนด้วยกัน
อ่านต่อ
หาดปะการัง จังหวัดพังงา ประเทศไทย
หาดปะการัง (Pakarang Beach) เป็นชายหาดในอำเภอตะกั่วป่าที่ถูกปกคลุมไปด้วยซากปะการังหลากหลายชนิด มีทิวทัศน์สวยงามน่าประทับใจ และเหมาะแก่การชมความงามของพระอาทิตย์ทอแสงสุดท้ายในช่วงเย็น
อ่านต่อ
หาดนางทอง จังหวัดพังงา ประเทศไทย
หาดนางทอง (Nang Thong Beach) เป็นหาดที่มีความสวยงามแปลกตาจนถูกยกให้เป็นอันซีนพังงา ชายหาดแห่งนี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากชายหาดอื่นๆ เนื่องจากผืนทรายบนชายหาดนางทองเป็นสีดำละเอียดที่พบไม่กี่แห่งในโลก
อ่านต่อ
หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ประเทศไทย
หาดท้ายเหมือง (Thai Mueang Beach) ชายหาดกว้างกับน้ำทะเลใสทอดตัวยาวเคียงคู่ไปกับทิวสนเรียงรายริมทะเลอันดามัน ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อ่านต่อ
สะพานไม้เขาปิหลาย จังหวัดพังงา ประเทศไทย
สะพานไม้เขาปิหลาย (Pilai Bridge) สะพานไม้เก่าแก่ที่ยืนเสากลางทะเล เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวอันซีนของจังหวัดพังงาที่สวยงามและมีเสน่ห์ โดยเฉพาะในยามพระอาทิตย์ตก
อ่านต่อ
วัดคูหาสวรรค์ จังหวัดพังงา ประเทศไทย
วัดคูหาสวรรค์ (Wat Khuha Sawan) หรือ วัดสุวรรณคูหา เป็นวัดถ้ำโบราณที่มีความน่าสนใจและถือเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากที่สุดของจังหวัดพังงา
อ่านต่อ
ประภาคารเขาหลัก จังหวัดพังงา ประเทศไทย
ประภาคารเขาหลัก (Khao Lak Lighthouse) อีกหนึ่งสถานที่เที่ยว Unseen ของจังหวัดพังงา เป็นประภาคารที่มีความสวยงาม และถือแลนด์มาร์กสำคัญของหาดนางทอง
อ่านต่อ