๙ วัดคู่บ้านคู่เมืองราชวงศ์จักรี ประเทศไทย

  • อ่าน (3,785)
  • ByWebmaster
  • 16:10:30 | 13 ก.ค. 2564

๙ วัดคู่บ้านคู่เมืองราชวงศ์จักรี ประเทศไทย

 

             พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีไทย ทุกพระองค์ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภกในทุกศาสนา รวมถึงศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ จึงทรงโปรดให้มีการสร้างวัดประจำพระองค์ขึ้น ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา โดยบางวัดพระมหากษัตริย์อาจไม่ได้เป็นผู้สร้าง ทว่าทรงเกี่ยวข้องกับการบูรณะวัด หรือทรงรับวัดไว้ในพระอุปถัมภ์ และมีความผูกพันกับวัดนั้นเป็นพิเศษ ก็ถือเป็นวัดประจำรัชกาลเช่นเดียวกัน

 
แผนที่แสดงตำแห่งของ 9 วัดคู่บ้านคู่เมืองราชวงศ์จักรี


วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 1

 

             วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (Wat Phra Chetuphon Vimolmangklararm Rajworamahavihara) หรือวัดโพธิ์ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร ในอดีตวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร มีชื่อเรียกว่า  “วัดโพธาราม” หรือ ”วัดโพธิ์” ตามประวัตินั้นสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ เมื่อการบูรณะเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามศาลา โดยเฉพาะตำราแพทย์แผนโบราณซึ่งเป็นที่มาของการนวดแผนโบราณที่ขึ้นชื่อของวัดโพธิ์ และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" ดังที่เรียกกันมาจนถึงในปัจจุบัน

การเดินทาง

             - รถประจำทาง สาย 1, 3, 4, 6, 9, 12, 25, 32, 44, 47, 48, 53 และ 82

             - เรือด่วนเจ้าพระยา ลงที่ท่าเตียน จากนั้นเดินต่ออีกประมาณ 200 เมตร ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท

พิกัด GPS :  13°44'47.8"N 100°29'35.2"E 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=78


วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 2

 

             วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan) หรือวัดแจ้ง เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 ตั้งอยู่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ วัดอรุณฯ สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี มีจุดเด่นที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร คือพระปรางค์สีขาวซึ่งตั้งโดดเด่นอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณฯ ยังเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานภายในบริเวณวัดอรุณราชวรารามด้วย

การเดินทาง

             - รถประจำทาง สาย 1, 3, 4, 6, 9, 12, 25, 32, 44, 47, 48, 53 และ 82 โดยลงรถบริเวณท่าเตียน จากนั้นขึ้นเรือข้ามฟากมายังท่าวัดอรุณ

             - เรือด่วนเจ้าพระยา ลงเรือที่ท่าเตียน จากนั้นขึ้นเรือข้ามฟากมายังท่าวัดอรุณ ค่าโดยสารเรือด่วนเริ่มต้นที่ 15 บาท และค่าเรือข้ามฟาก 3.50 บาท

พิกัด GPS : 13°44'37.3"N 100°29'19.1"E

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=85


วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 3

 

             วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร (Wat Ratcha Orasaram Ratchaworawihan) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณอายุสองร้อยกว่าปี มีความแตกต่างจากวัดอื่นๆ ตรงที่มีการนำศิลปะจีนมาผสมผสานกับศิลปะไทยในการออกแบบตกแต่งอาคารต่างๆ ภายในวัด ซึ่งมีความสวยงามวิจิตรบรรจงและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวัดแห่งนี้ นอกจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้มีโอกาสสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดแล้ว ยังสามารถเที่ยวชมสถาปัตยกรรมและศิลปะการตกแต่งต่างๆ ภายในวัดได้อย่างเพลิดเพลินอีกด้วย

การเดินทาง

             - รถยนต์ (Car) จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยัง วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร มีระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

             - ขนส่งสาธารณะ (Public transport) จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสมาลงที่สถานีสยาม เพื่อเปลี่ยนขบวนขึ้นสายสีลม ไปลงสถานีวุฒากาศ และเดินต่อไปยัง วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

พิกัด GPS : 13°42'10.3"N 100°27'51.5"E

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=467


วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
- วัดประจำรัชกาลที่ 4

 

             วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร (Ratchapradit Sathit Maha Simaram Ratcha Wora Maha Wihan Temple) เป็นอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่ที่ถนนสราญรมณ์ เขตพระนคร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่ออุทิศถวายแด่พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2407 วัดแห่งนี้จึงถือเป็นวัดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของไทย ภายในวัดมี "พระพุทธสิหิงคปฏิมากร" เป็นองค์พระประธาน จำลองจากองค์จริงที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

การเดินทาง

             - เรือ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือด่วนมาลงที่ท่าเตียน จากนั้นเดินมาวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ระยะทางประมาณ 900 เมตร ใช้เวลาประมาณ 11 นาที

             - รถประจำทาง มีรถประจำทางที่ผ่านวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร คือ รถประจำทางสาย 2, 60 รถปรับอากาศสาย ปอ.1, ปอ.2, ปอ.512

พิกัด GPS : 13°44'58.6"N 100°29'44.0"E

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=190


วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 7

 

             วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรมหาวิหาร (Ratchabophit Sathit Maha Simaram Ratcha Wora Maha Wihan Temple) พระอารามหลวงชั้นเอก เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 7 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นวัดแห่งเดียวของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์ วัดแห่งนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และเคยเป็นที่พำนักของสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะหลายรูป วัดราชบพิตรฯ ตั้งอยู่บริเวณถนนเฟื่องนคร เขตพระนคร โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นวัดประจำรัชกาล เมื่อปี พ.ศ. 2412 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 7 มิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล แต่ก็ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุงและโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวัดแห่งนี้นับเป็นพระอารามหลวงแห่งสุดท้ายที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี และเป็นที่ตั้งของสุสานหลวง

การเดินทาง

             - เรือ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือด่วนมาลงที่ท่าเตียน จากนั้นเดินมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร ระยะทางประมาณ 900 เมตร ใช้เวลาประมาณ 11 นาที

             - รถประจำทาง มีรถประจำทางที่ผ่านวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร คือ สาย 2, 60

พิกัด GPS : 13°44'56.7"N 100°29'49.3"E

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=187


วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 6

 

             วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (Bowon Niwetwihan Ratchaworawihan Temple) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 เดิมชื่อว่า “วัดใหม่” ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล วังหน้าสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏสมมติเทวาวงศ์ ทรงเสด็จมาครองวัดนี้ โดยพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดบวรนิเวศวิหาร” พร้อมตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายและบูรณะพระอุโบสถ ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมวัดรังสีสุทธาวาสและวัดบวรนิเวศราชวรวิหารเข้าด้วยกัน วัดแห่งนี้มีความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย โดยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จออกทรงผนวชทุกพระองค์ รวมทั้งมีส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

การเดินทาง

             - เรือ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยเรือ จากท่าพระอาทิตย์ เดินมาวัดบวรนิเวศราชวรวิหารระยะทางประมาณ 750 เมตร ใช้เวลาประมาณ 9 นาที

             - รถประจำทาง มีรถประจำทางที่ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหารคือ สาย 3, 9, 64, 65, 53, 56, 68

พิกัด GPS : 13°45'37.5"N 100°29'59.2"E

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=188


วัดสุทัศนเทพวราราม
ราชวรมหาวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 8

 

             วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร (Suthat Thep Wararam Ratchaworamahawihan Temple) เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2350 เดิมทีพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โดยมีพระราชประสงค์จะสร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิง เพื่อเป็นเกียรติแก่พระนคร และเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยการสร้างวัดสุทัศนฯ เสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2390 และพระราชทานนามว่า วัดสุทัศนเทพวราราม ภายในวัดสุทัศนฯ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี

การเดินทาง  

             - รถประจำทาง มีรถประจำทางที่ผ่านวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารคือ รถประจำทางสาย 10, 12, 15, 19, 35, 42, 48, 73, 96

พิกัด GPS : 13°45'03.4"N 100°30'03.2"E

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=191


วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
- วัดประจำรัชกาลที่ 9

 

             วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก (Wat Phra Ram 9 Kanchanaphisek) เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 9 วัดเล็กๆ ที่มีสถาปัตยกรรมเรียบง่ายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระอุโบสถเครื่องบนทำอย่างไทย ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นปูนปั้นสีขาว หน้าบันเป็นปูนปั้นลายดอกพุดตาน ปิดทองเฉพาะที่ตราพระราชลัญจกร วัดแห่งนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อพ.ศ. 2539 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ขึ้นเป็นพระอารามหลวงเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

การเดินทาง

             วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ตั้งอยู่ที่ซอย 19 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง ห่างจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 15 - 20 นาที รถประจำทางสายที่ผ่านคือ 137, 168 ลงป้ายก่อนถึงเลียบทางด่วนรามอินทรา อาจณรงค์ แล้วต่อมอเตอร์ไซด์เข้าไปวัด ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลงที่ป้ายพระรามเก้า แล้วต่อมอเตอร์ไซด์มายังวัดเช่นกัน

พิกัด GPS 13°45'35.5"N 100°35'36.9"E

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=539


วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร
- วัดประจำรัชกาลที่ 10    

 

             วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (Wat Vachiratham Satit Worawihan) เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 10 ที่นับได้ว่ามีความเป็นมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ โดยวัดแห่งนี้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 แต่ครั้งทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ภายในวัดมีพระอุโบสถที่สวยงาม ประตู หน้าต่างทำด้วยไม้สักแกะสลักอย่างวิจิตรงดงามโดยฝีมือช่างชาวเหนือ จุดเด่นสำคัญคือพระเจดีย์จุฬามณีศรีล้านนาความกว้าง 25 ศอก 9 นิ้ว ความสูง 49 ศอก ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 25 องค์ พระธาตุอรหันตสาวก 289 องค์ และพระพุทธรูปทองคำ 2 องค์

การเดินทาง

             วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร ตั้งอยู่ในซอย 101/1 สุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง ห่างจากอนุสาวรีย์ชัย 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 28 นาที รถประจำทางสายที่ผ่านคือ 206, 145 ลงป้ายพาราไดซ์พาร์ค แล้วต่อมอเตอร์ไซด์เข้าไปวัด ส่วนรถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีพระโขนง แล้วต่อมอเตอร์ไซด์มายังวัดเช่นกัน

พิกัด GPS : 13°41'28.1"N 100°38'05.8"E

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=540


ข้อมูลอื่นๆ ที่ควรรู้
 
: พยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com/

                             เว็บไซต์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ http://www.bmta.co.th/?q=home

                             เว็บไซต์รถไฟฟ้าบีทีเอส https://www.bts.co.th

                             เว็บไซต์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย https://www.mrta.co.th/th/

                             เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร http://www.bangkok.go.th/main/index.php?l=th

                             เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org/Home


แอปพลิเคชันแนะนำสำหรับเรียกใช้บริการรถแท็กซี่ในประเทศไทย

                   - Grab สามารถดาวน์โหลดได้ที่ App Store (iOS) และ Play Store (Android)


อัตราค่าบริการแท็กซี่ (
TAXI FARE)


อัตราค่าครองชีพ (
DAILY COST)


สภาพอากาศ (WEATHER)

 

สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ

สวนสาธารณะเทศบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย

สวนสาธารณะเทศบาลโพธาราม (Muang Photharam Municipal Public Park) เป็นสวนสาธารณะที่ตั้งอยู่ริมเขื่อนแม่น้ำแม่กลองในอำเภอโพธาราม ภายในสวนมีบรรยากาศร่มรื่นจากต้นไม้ใหญ่ และยังมีส่วนของจุดชมวิว สนามหญ้า ทางวิ่งออกกำลังกาย ลานกีฬา เครื่องออกกำลังกาย และสนามเด็กเล่น สวนสาธาณะแห่งนี้เหมาะกับคนทุกวัยที่ต้องการมาเดินเล่น พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และชมวิวแม่น้ำแม่กลองที่เป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดราชบุรี และที่นี่ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานกิจกรรมและงานประเพณีต่างๆ ของเมืองโพธารามอีกด้วย

อ่านต่อ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี (Ratchaburi National Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์จากการใช้ศาลากลางหลังเก่าของจังหวัดราชบุรีมาก่อตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อาคารแห่งนี้เป็นอาคารเก่าแก่ที่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามและอยู่คู่กับจังหวัดราชบุรีมาอย่างนาวนาน และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติอีกด้วย ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรีมีนิทรรศการท้องถิ่นที่น่าสนใจของจังหวัดราชบุรีให้เที่ยวชม โดยจัดแสดงเรื่องราวทางสภาพภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยา ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ชนเผ่าชาติพันธุ์วิทยา มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม และบุคคลสำคัญ ไปจนถึงคลังโบราณวัตถุที่หาชมได้ยากตั้งแต่เครื่องปั้นดินเผาไปจนถึงพระพุทธรูปในยุคต่างๆ

อ่านต่อ

น้ำตกเก้าชั้น จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย

น้ำตกเก้าชั้น (Kaew Chan Waterfalls) เป็นน้ำตกกลางหุบเขาที่มีความสูง 9 ชั้น โดยแต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกันไป ชั้นที่ได้ชื่อว่าสวยงามที่สุดคือบริเวณชั้นที่ 6 น้ำตกเก้าชั้นสามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เพราะมีน้ำไหลทุกฤดูกาล โดยจะมีน้ำมากที่สุดและสวยที่สุดในช่วงฤดูฝน เพราะจะมองเห็นสายน้ำตกสีขาวขนาดใหญ่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงท่ามกลางป่าไม้อันเขียวขจีและเสียงของน้ำตก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งของอำเภอสวนผึ้ง

อ่านต่อ

ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย

ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก (Lao Tuk Luck Floating Market) เป็นตลาดน้ำแห่งแรกของจังหวัดราชบุรีที่ก่อตั้งขึ้นมาก่อนตลาดน้ำดำเนินสะดวก มีลักษณะเป็นตลาดน้ำขนาดย่อมที่ตั้งอยู่บนเรือนไม้ริมน้ำที่ชุมชนชาวไทย-จีนอาศัยอยู่ ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลักมีบรรยากาศเรียบง่ายและคลาสสิก แต่มีความพลุกพล่านน้อยกว่าตลาดน้ำดำเนินสะดวก การเดินทางก็แสนง่าย แค่เพียงแค่ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำจากฝั่งตลาดน้ำดำเนินสะดวกมายังฝั่งตรงข้าม ก็จะได้พบกับเรือนไม้โบราณของชุมชนชาวจีนและลำคลองที่ตัดผ่าน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอาหารทานง่ายอร่อยๆ ให้เลือกมากมาย และมีมุมถ่ายรูปสวยๆ ให้เก็บความประทับใจ นอกจากนี้ในวันหยุดจะมีเสียงดนตรียุค 80 คลอเคล้าสร้างความเพลิดเพลินในการเดินตลาดอีกด้วย

อ่านต่อ

ตลาดน้ำอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

ตลาดน้ำอโยธยา (Ayothaya Floating Market) ตลาดน้ำที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองเก่าแห่งนี้

อ่านต่อ

วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana) อนุสรณ์สถานแห่งการแย่งชิงราชบัลลังค์ เป็นอีกหนึ่งในวัดที่ใหญ่ และเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา เมื่อปี พ.ศ. 1967

อ่านต่อ

วัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

วัดมเหยงคณ์ (Wat Mahaeyong) อดีตพระอารามหลวง และกลายเป็นวัดร้างไปภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2310 ปัจจุบันวัดแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานปฏิบัติธรรม ใจกลางโบราณสถานที่เก่าแก่ของอยุธยาอีกด้วย

อ่านต่อ

10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย

จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนบน เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่เป็นแหล่งเกษตรกรรมของไทย อีกทั้งยังได้รับสมญานามว่าเป็นประตูสู่ภาคเหนือ และเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงาม และมีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายโดยเฉพาะวัดและตลาดที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของชาวนครสวรรค์ได้เป็นอย่างดี วันนี้ทาง Palanla จึงได้รวบรวม 10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดนครสวรรค์มาฝากทุกท่านกันในบทความนี้

อ่านต่อ

หอชมเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย

หอชมเมืองนครสวรรค์ (Nakhon Sawan Observation Tower) เป็นหอชมเมืองที่ตั้งอยู่บนเขาคีรีวงศ์ จุดชมวิวจะตั้งอยู่บริเวณชั้น 10 ของหอชมเมืองซึ่งสามารถชมวิวเมืองนครสวรรค์จากมุมสูงได้โดยรอบ และมองเห็นทิวทัศน์ของธรรมชาติที่อยู่ไกลออกไปได้อย่างเต็มตา นอกจากนี้บริเวณชั้น 1 ยังมีร้านขายของที่ระลึกซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นให้เลือกซื้ออีกด้วย หอชมเมืองนครสวรรค์จึงเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองปากน้ำโพที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ

พาสาน อาคารสัญลักษณ์ต้นน้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย

พาสาน อาคารสัญลักษณ์ต้นน้ำเจ้าพระยา (Pasaan, The Headwaters of the Chao Phraya River Symbol Building) ตั้งอยู่บริเวณแหลมเกาะยม ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำปิง วัง ยม น่านมาบรรจบกันและก่อกำเนิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา พาสานถือเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของนครสวรรค์ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชม เดินเล่น ชมวิว ดูพระอาทิตย์ตกดิน และถ่ายภาพความสวยงามของอาคารและทิวทัศน์แม่น้ำโดยรอบกันอย่างเพลิดเพลิน

อ่านต่อ
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ